เขตพื้นที่อำเภอพบพระ เดิมอยู่ในเขตการปกครองของตำบลช่องแคบ อำเภอแม่สอด จังหวัดตากคำว่า "พบพระ" มีคำบอกเล่าของ นายสูน จันทร์สุ อดีตผู้ใหญ่บ้านที่สอง ของบ้านเพอะพะ ว่าเมื่อตนอายุได้ 12 ปี ได้อพยพมาพร้อมกับบิดาจากบ้านแม่ตาว อำเภอแม่สอด ได้มาตั้งบ้านเรือนพร้อมญาติรวม 4 หลังคา ซึ่งในสมัยก่อนท้องที่นี้มีความอุดมสมบูรณ์มาก มีป่าไม้มากมาย และมีบริเวณแห่งหนึ่งใกล้ที่ตั้งของโรงพยาบาล พบพระปัจจุบัน มีลักษณะพื้นที่เป็นดงป่าหวาย ดงเตย และดงแขม
มีน้ำไหลมาจากน้ำออกรู ท่วมขังบริเวณนี้เฉอะแฉะ จึงเรียกบริเวณนี้ว่า "เพอะพะ" ซึ่งเป็นภาษาพื้นเมืองภาคเหนือ แปลว่าบริเวณที่มีน้ำขังเป็นแอ่งเป็นโคลนตมไปทั่ว เมื่อตั้งบ้านเรือนมาได้ 3 ปี ทางราชการจึงประกาศเป็นหมู่บ้านขึ้น เรียกชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านเพอะพะ" ตามลักษณะพื้นที่แห่งนี้ ต่อมาได้มีการเสนอแยกตำบลออกจากตำบลช่องแคบ ให้ชื่อตำบลใหม่ว่า "ตำบลพบพระ" เพื่อให้สอดคล้องกับคำเดิมและให้ได้ความหมายเป็นสิริมงคล
เนื่องจากอำเภอแม่สอด มีพื้นที่กว้างขวาง มีอุปสรรคต่อการปกครองดูแลราษฎรที่อยู่ในพื้นที่
ที่ห่างไกล โดยเฉพาะพื้นที่ตำบลช่องแคบ และตำบลพบพระ มีผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์แทรกซึม ดังนั้นพ.ศ. 2513 จึงแยกตำบลคีรีราษฎร์ เป็นอีกตำบลหนึ่ง รวมเป็น 3 ตำบล และขอเสนอตั้งกิ่งอำเภอใหม่ซึ่งเรียกชื่อกิ่งอำเภอใหม่ว่า "กิ่งอำเภอพบพระ" ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2520 มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2520 ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเป็นอำเภอ เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2530 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 104 ตอนที่ 156 ลงวันที่ 12 สิงหาคม 2530 และมีผลตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม 2530 เป็นต้นมา
สภาพทางภูมิศาสตร์
อำเภอพบพระ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดตาก ห่างจากจังหวัดตาก เป็นระยะ-ทาง 135 กิโลเมตร โดยมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก และประเทศเมียนมาร์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอเมืองตาก , กิ่งอำเภอวังเจ้า, จังหวัดกำแพงเพชร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ประเทศเมียนมาร์ (เป็นระยะทางยาวประมาณ 84 กิโลเมตร )
แผนที่แสดงที่ตั้งและอาณาเขตอำเภอพบพระ จังหวัดตาก
สภาพภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศแบ่งเป็น 3 เขตดังนี้
1. เขตเนินเขาทางทิศตะวันตกและตอนใต้ ความสูงตั้งแต่ 350-550 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล เป็นต้นกำเนิดของลำห้วยน้ำที่สำคัญ เช่น ห้วยแม่โกนเกน ห้วยพบพระ ห้วยบ้านช่องแคบ ห้วยวาเล่ย์และแม่น้ำเมย มีต้นกำเนิดจากพม่าซึ่งแม่น้ำเมยจะไหลลงสู่พื้นที่ห้วยแม่กาลาที่บ้านมอเกอไทยเป็น แม่น้ำไหลกั้นพรมแดนไทย-พม่าขึ้นไปทางเหนือถึงอำเภอแม่สอด
2. เขตที่ราบสูงตอนกลาง ความสูงตั้งแต่ 450-750 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล มีลักษณะเป็นที่ราบสูงมียอดดอย ที่สำคัญ คือ ดอยกะยือสะโจ ยอดเขาเปาโล (ต้นน้ำผากระเจ้อ) มีความราบจากตะวันตกไปตะวันออกไม่สูงชันไม่ลาดเว้าทำให้สังเกตเป็นที่ราบสูงได้ชัดเจน
3. เขตเทือกเขาสูงทางทิศตะวันออกเป็นเทือกเขาสูงครอบคลุมเขตตำบลคีรีราษฎร์ มีทิวเขาติดต่อเป็นแนวต่อระหว่างเทือกเขาถนนธงชัย กับเทือกเขาตะนาวศรี มีดอยสูงที่สุดคือดอยหลวง
(สูง 1,175 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล) เป็นต้นกำเนิดของห้วยอุ้มเปี้ยม ห้วยน้ำเย็น ดอยผาเกี๊ยะ ต้นกำเนิดของห้วยนกแล ห้วยช่องแคบ และ ที่ราบสูงป่าคาเป็นต้นกำเนิดของห้วยวาเล่ย์
ลักษณะภูมิอากาศ
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน - ตุลาคม มีฝนตกชุกและสม่ำเสมอตลอดฤดูกาล ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1,500-2,000 มิลลิเมตร/ปี
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ ไม่หนาวมาก มีอุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 6 องศาเซลเซียส
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม - พฤษภาคม ในช่วงฤดูร้อนอากาศไม่ร้อนจัด เพราะเป็นที่สูงลมพัด
สภาพทางเศรษฐกิจและการประกอบอาชีพ
อาชีพหลักส่วนใหญ่ คือ การประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ทำการเกษตร 283,848 ไร่ ได้แก่
ทำไร่ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ข้าว มันฝรั่ง พืชผักตามฤดูกาล
ทำสวน เช่น ดอกกุหลาบ ส้มโอ น้อยหน่า ส้มเขียวหวาน ส้มสายน้ำผึ้ง มะนาว ทับทิม ชมพู่
มัคคาเดเมีย ฝรั่ง ลำไย เงาะ องุ่น มะม่วง ลิ้นจี่ กล้วยไข่ กล้วยน้ำหอมทอง
พืชผัก เช่น กะหล่ำปลี ผักกาดขาวปลี กระเทียม หอมแดง คะน้า กว้างตุ้ง ผักบุ้ง ผักชี
คื่นฉ่าย ถั่วฝักยาก แตงกว่า บวบเหลี่ยม มะระจีน พริก มะเขือเปราะ มะเขือยาว ผักกาดหัว มันฝรั่ง
ไม้ยืนต้นเศรษฐกิจ เช่น สวนสัก มะยมหอม
อาชีพเสริม ได้แก่ กลุ่มแปรรูปผลผลิตการเกษตร เช่น กลุ่มข้าวกล้อง ข้าวเกรียบ กลุ่มข้าวแตน ดอกไม้ประดิษฐ์ เป็นต้น กลุ่มทอผ้าพื้นเมือง กลุ่มแปรรูปอาหาร เช่น มันฝรั่งทอด น้ำพริกกุ้ง เป็นต้น
โรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ โรงงานผลิตน้ำดื่ม บริษัททิพย์วารินวัฒนา จำกัด (น้ำแร่มองเฟอร์) ตั้งอยู่ที่หมู่ 4 ตำบลพบพระ และโรงงานผลิตมันฝรั่ง (บริษัทฟิโตเลย์ จำกัด ) ตั้งอยู่ที่หมู่ 6 ตำบลช่องแคบ
สถานศึกษาและโรงเรียน
อำเภอพบพระ มีสถานศึกษาและโรงเรียน จำนวนทั้งสิ้น 57 แห่ง ประกอบด้วย
โรงเรียนอนุบาล จำนวน 1 แห่ง
โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 8 แห่ง
โรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาส จำนวน 17 แห่ง
โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง
ศูนย์การเรียนแม่ฟ้าหลวง ( กศน.) จำนวน 2 แห่ง
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 26 แห่ง
โรงเรียนเอกชน จำนวน 2 แห่ง
นอกจากนี้ยังมีศูนย์การเรียนรู้ต่างด้าว (Migrant school) กระจายอยู่ในพื้นที่ตำบลช่องแคบและตำบล คีรีราษฎร์ จำนวน 12 แห่ง
อาชีพเสริม ได้แก่ กลุ่มแปรรูปผลผลิตการเกษตร เช่น กลุ่มข้าวกล้อง ข้าวเกรียบ กลุ่มข้าวแตน ดอกไม้ประดิษฐ์ เป็นต้น กลุ่มทอผ้าพื้นเมือง กลุ่มแปรรูปอาหาร เช่น มันฝรั่งทอด น้ำพริกกุ้ง เป็นต้น
โรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ โรงงานผลิตน้ำดื่ม บริษัททิพย์วารินวัฒนา จำกัด (น้ำแร่มองเฟอร์) ตั้งอยู่ที่หมู่ 4 ตำบลพบพระ และโรงงานผลิตมันฝรั่ง (บริษัทฟิโตเลย์ จำกัด ) ตั้งอยู่ที่หมู่ 6 ตำบลช่องแคบ
สถานศึกษาและโรงเรียน
อำเภอพบพระ มีสถานศึกษาและโรงเรียน จำนวนทั้งสิ้น 57 แห่ง ประกอบด้วย
โรงเรียนอนุบาล จำนวน 1 แห่ง
โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 8 แห่ง
โรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาส จำนวน 17 แห่ง
โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง
ศูนย์การเรียนแม่ฟ้าหลวง ( กศน.) จำนวน 2 แห่ง
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 26 แห่ง
โรงเรียนเอกชน จำนวน 2 แห่ง
นอกจากนี้ยังมีศูนย์การเรียนรู้ต่างด้าว (Migrant school) กระจายอยู่ในพื้นที่ตำบลช่องแคบและตำบล คีรีราษฎร์ จำนวน 12 แห่ง
ด้านศาสนาและศาสนสถาน
อำเภอพบพระ มีศาสนาสถาน จำนวน 63 แห่ง ประกอบด้วย
วัด จำนวน 13 แห่ง
สำนักสงฆ์ จำนวน 18 แห่ง
โบสถ์คริสต์ จำนวน 32 แห่ง
การปกครอง
อำเภอพบพระ แบ่งการปกครองออกเป็น 5 ตำบล 55 หมู่บ้าน ประกอบด้วยเทศบาล 1 แห่ง
และองค์การบริหารส่วนตำบล 5 แห่ง
1. เทศบาลตำบลพบพระ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพบพระ จำนวน 4 หมู่บ้าน
2. องค์การบริหารส่วนตำบลพบพระ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพบพระ จำนวน 5 หมู่บ้าน
3. องค์การบริหารส่วนตำบลช่องแคบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลช่องแคบ จำนวน 15 หมู่บ้าน
4. องค์การบริหารส่วนตำบลวาเล่ย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวาเล่ย์ จำนวน 7 หมู่บ้าน
5. องค์การบริหารส่วนตำบลรวมไทยพัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลรวมไทยพัฒนา จำนวน 11 หมู่บ้าน
6. องค์การบริหารส่วนตำบลคีรีราษฎร์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคีรีราษฎร์ จำนวน 13 หมู่บ้าน
ประชากรและหลังคาเรือน
อำเภอพบพระ มีพื้นที่ประมาณ 1,075 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 79,834 คน ความหนาแน่น ของประชากร เท่ากับ 75 คน ต่อตารางกิโลเมตร จากลักษณะที่ตั้งซึ่งอยู่แนวชายแดน ไทย -พม่า ทำให้ มีชาวเขาหลายเผ่าพันธุ์ดังนี้ เผ่ากะเหรี่ยง มูเซอ อีก้อ ลีซอ ไทยใหญ่ เย้า จีนฮ่อ ม้ง และมีชาวไทย พื้นราบได้แก่ ชาวไทยที่ย้ายถิ่นมาจากจังหวัดต่างๆ ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง
ปี 2561 ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุที่เป็นภาระพึ่งพิง ช่วงอายุที่มีจำนวนประชากรมากที่สุด คือ ช่วงอายุ 5-9 ปี และช่วงอายุที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุดคือ ช่วงอายุ 70-74 ปี โดยมีสัดส่วนระหว่างเพศชายและเพศหญิงมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน
ข้อมูลด้านสาธารณสุข
สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ 1 แห่ง
โรงพยาบาลชุมชน ระดับ F1 ขนาด 60 เตียง 1 แห่ง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 11 แห่ง
สถานบริการสาธารณสุขชุมชน 4 แห่ง
หน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง 1 แห่ง
อำเภอพบพระ มีศาสนาสถาน จำนวน 63 แห่ง ประกอบด้วย
วัด จำนวน 13 แห่ง
สำนักสงฆ์ จำนวน 18 แห่ง
โบสถ์คริสต์ จำนวน 32 แห่ง
การปกครอง
อำเภอพบพระ แบ่งการปกครองออกเป็น 5 ตำบล 55 หมู่บ้าน ประกอบด้วยเทศบาล 1 แห่ง
และองค์การบริหารส่วนตำบล 5 แห่ง
1. เทศบาลตำบลพบพระ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพบพระ จำนวน 4 หมู่บ้าน
2. องค์การบริหารส่วนตำบลพบพระ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพบพระ จำนวน 5 หมู่บ้าน
3. องค์การบริหารส่วนตำบลช่องแคบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลช่องแคบ จำนวน 15 หมู่บ้าน
4. องค์การบริหารส่วนตำบลวาเล่ย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวาเล่ย์ จำนวน 7 หมู่บ้าน
5. องค์การบริหารส่วนตำบลรวมไทยพัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลรวมไทยพัฒนา จำนวน 11 หมู่บ้าน
6. องค์การบริหารส่วนตำบลคีรีราษฎร์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคีรีราษฎร์ จำนวน 13 หมู่บ้าน
ประชากรและหลังคาเรือน
อำเภอพบพระ มีพื้นที่ประมาณ 1,075 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 79,834 คน ความหนาแน่น ของประชากร เท่ากับ 75 คน ต่อตารางกิโลเมตร จากลักษณะที่ตั้งซึ่งอยู่แนวชายแดน ไทย -พม่า ทำให้ มีชาวเขาหลายเผ่าพันธุ์ดังนี้ เผ่ากะเหรี่ยง มูเซอ อีก้อ ลีซอ ไทยใหญ่ เย้า จีนฮ่อ ม้ง และมีชาวไทย พื้นราบได้แก่ ชาวไทยที่ย้ายถิ่นมาจากจังหวัดต่างๆ ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง
โครงสร้างประชากรแยกตามเพศและกลุ่มอายุ ปี 2561
ข้อมูลด้านสาธารณสุข
สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ 1 แห่ง
โรงพยาบาลชุมชน ระดับ F1 ขนาด 60 เตียง 1 แห่ง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 11 แห่ง
สถานบริการสาธารณสุขชุมชน 4 แห่ง
หน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง 1 แห่ง
สถานบริการสาธารณสุขเอกชน
คลินิกแพทย์ 5 แห่ง
ร้านขายยาแผนปัจจุบัน 5 แห่ง
Health Post 2 แห่ง
SMRU 1 แห่ง
ทรัพยากรสาธารณสุข
อาสาสมัครสาธารณสุข 1,145 คน
อาสาสมัครสาธารณสุขต่างชาติ (อสต.) 150 คน
ผดุงครรภ์โบราณ 44 คน
คลินิกแพทย์ 5 แห่ง
ร้านขายยาแผนปัจจุบัน 5 แห่ง
Health Post 2 แห่ง
SMRU 1 แห่ง
ทรัพยากรสาธารณสุข
อาสาสมัครสาธารณสุข 1,145 คน
อาสาสมัครสาธารณสุขต่างชาติ (อสต.) 150 คน
ผดุงครรภ์โบราณ 44 คน